ตามที่ได้เคยเล่าไปแล้วว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่มูลนิธิทิสโก้เข้าพบกับนักสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลต่างๆ
ที่ได้ทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์การรักษาพยาบาลในปัจจุบัน
และเพื่อมูลนิธิฯ
เองจะได้ปรับวิธีการสนับสนุนการรักษาพยาบาลให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริง
โรงพยาบาลแห่งสุดท้ายที่เราไปเยี่ยมเยือนคือรพ.พระมงกุฎเกล้า
ซึ่งเราได้พบทีมแพทย์จากหน่วยโรคไตเด็ก
และนักสังคมสงเคราะห์ที่ดูแลกองกุมารเวชกรรมและกองอื่นๆ
และได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย
แนวทางการให้บริการของหน่วยโรคไตเด็กนั้นคล้ายคลึงโรงพยาบาลหัวก้าวหน้าอื่นๆ
ที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมและเชิงรุก
แต่ความแตกต่างอยู่ที่ลักษณะของกลุ่มประชากรที่เข้ามารับบริการของแต่ละโรงพยาบาล
ยกตัวอย่างเช่น
นักสังคมสงเคราะห์ของรพ.เวชการุณย์รัศมิ์จะเน้นที่การช่วยเหลือผู้ป่วยต่างด้าว
ผู้ป่วยแรงงาน อุบัติเหตุ
เป็นต้น
เนื่องจากสภาพแวดล้อมและลักษณะประชากรเป็นเช่นนั้น
ในขณะที่หน่วยโรคไตเด็ก
รพ.พระมงกุฎเกล้านี้
เป็นศูนย์โรคไตเด็กในโครงการบัตรทองประจำพื้นที่ตอนกลางของประเทศไทย
ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดพิษณุโลกจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงเป็นเด็กมาจากต่างจังหวัด
มีฐานะปานกลางถึงยากจน
ต้องมีครอบครัวหรือผู้ปกครองติดตามมาด้วย
และการรักษามีทางเลือกไม่มากนักเนื่องจากต้องพึ่งระบบบัตรทอง
ดังนั้น
บริบทของการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมทำให้ต้องมองถึงการเดินทางของผู้ป่วยและครอบครัว
ที่พักอาศัยชั่วคราวระหว่างที่ผู้ป่วยเด็กรับการรักษาตัว
การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในเรื่องการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่บ้าน
และยังต้องมองถึงสิทธิ์และโอกาสอื่นๆ
ที่เด็กคนหนึ่งพึงได้รับในฐานะประชาชนคนหนึ่ง
เช่น การศึกษา การมีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยดูแล
การได้เข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ
การเพิ่มทักษะการใช้ชีวิตและการเข้าสังคม
เป็นต้น
ดังนั้น
หน่วยโรคไตเด็กและนักสังคมสงเคราะห์จึงต้องเน้นการให้ความช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ที่เกิดจากการรักษาพยาบาล
เช่นค่าเดินทาง ค่าที่พักอาศัยชั่วคราว
และเมื่อผู้ป่วยเด็กสามารถออกจากโรงพยาบาลเพื่อไปรักษาตัวที่บ้านได้
ทีมแพทย์และนักสังคมสงเคราะห์ยังต้องพยายามหาวิธีตรวจเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้านอีก
เพื่อติดตามอาการและให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลจัดสถานที่อยู่อาศัยและโภชนาการที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย
จึงต้องมีการสร้างความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
ในพื้นที่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอบต.
กาชาดจังหวัด
เป็นต้น ส่วนโครงการและกิจกรรมต่างๆ
มี่หน่วยฯ จัดขึ้นจึงเน้นที่การสร้างโอกาสให้เด็ก
ไม่ว่าจะเป็นจัดกิจกรรมพาผู้ป่วยเด็กๆ
และครอบครัวไปเที่ยวดรีมเวิลด์
หรือแผนที่จะจัดให้มีการศึกษานอกห้องเรียนสำหรับผู้ป่วยเด็กที่ต้องอาศัยอยู่ในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน
หรือไม่สามารถไปโรงเรียนตามปกติเหมือนเด็กทั่วไปได้
ซึ่งความต้องการเหล่านี้จะค่อนข้างแตกต่างจากหน่วยรักษาพยาบาลอื่นๆ
ที่มูลนิธิฯ พบ
นี่เป็นสถานการณ์การรักษาพยาบาลโรคไตในเด็กที่น่าสนใจมาก
และทำให้มูลนิธิฯ
เองต้องเริ่มคิดและปรับวิธีการช่วยเหลือเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจุบันมีระบบบัตรทองและสวัสดิการสังคมที่สามารถผ่อนภาระการรักษาพยาบาลของประชาชนไปได้มาก
และความต้องการส่วนใหญ่เริ่มแปรเปลี่ยนไปทางด้านสังคมและเศรษฐกิจมากขึ้น
ซึ่งหากท่านใดได้ติดตามเรื่องราวที่เราสรุปจากการพบประนักสังคมสงเคราะห์
จะพบว่า
แม้แต่ตัวโรงพยาบาลเองก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ
นอกภาคการแพทย์และสาธารณสุข
หรือแม้แต่การจัดสรรเบี้ยยังชีพให้ผู้ป่วย
ซึ่งเรียกได้ว่าแทบจะทำแทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เลยทีเดียว

If
you follow TISCO Foundation's movement closely, you will be able to
tell that this is the period we are collecting information from
social workers of hospitals that have been actively working with us.
The last stop was Phra Mongkutklao Hospital where we met a team of
medical doctors at the Child Nephrology Unit (CNU) and the hospital's
social workers. The meeting was vibrant with rich information about
their holistic and proactive approach to helping children with kidney
disease and their families.
The
holistic and proactive approach in medical care is probably one of
the most successful models that many hospitals, including Phra
Mongkutklao Hospital, are following. However, the context of medical
care for the unit is different from other medical are units due to
differences in target population's demographics. For example,
Vejkaroonrasmi Hospital in Nong Jok area focuses on helping patients
who are immigrants and those in labor class because that's the
demographics of most population. However, the CNU's patients are
children from various provinces as it has been appointed as a 30-Baht
Program Center for Child Nephrology for central Thailand, covering
Pitsanulok to Prajuabkirikant provinces. Therefore, with the
holistic and proactive approach, the unit needs to explore challenges
around the patients, and ones like travel costs and temporary housing
would come up. Collaborating with other sectors, e.g. Tambon
Administration Organization, local chapters of Red Cross, is also
important when the unit has to perform home follow-up to ensure that
the child patients are well taken care of. Another important area is
child's rights issues that the unit needs to concern – access to
education, a right to have a family or a guardian, access to
recreational and life skills training, etc.
This
creates a big question to the foundation if we are providing help
that is relevant to the real needs. Now with the improved 30-Baht
Program and social welfare, medical care expenditure is no longer the
most important issue. But it is the entry point to other problems
that are even bigger and more critical.